ขั้นตอนต่อไปเป็นการวางตัวเก็บประจุ 2 ตัว

ขั้นตอนต่อไปเป็นการวางตัวเก็บประจุ 2 ตัว
- ตัวเก็บประจุก็อยู่ในไลบรารี Miscellaneous Devices.IntLib เช่นกัน เลือกไลบรารีนี้ได้จากพาเนล Libraries
- ที่พาเนล Libraries ในฟิลด์ Filter ของตัวอุปกรณ์ให้พิมพ์คำว่า cap
- คลิกเลือก CAP ในรายการตัวอุปกรณ์ แล้วคลิกปุ่ม Place จะเห็นสัญลักษณ์ตัวเก็บประจุอยู่ที่เคอร์เซอร์
- กดคีย์ TAB เพื่อแก้ไขค่าแอททริบิวของตัวเก็บประจุ (Capacitors) ส่วนในเซ็คชัน Properties ในไดอะล็อก Component Properties ให้ตั้งค่า Designator ของตัวอุปกรณ์แรกเป็น C1 แล้วตรวจสอบให้ฟุตพริ้นท์บน PCB โมเดล RAD-0.3 ถูกใส่เพิ่มในรายการ Models แล้ว
- ตั้งค่าพารามิเตอร์ โดยคลิก Add ในเซ็คชัน Parameters list เพื่อเปิดไดอะล็อก Parameter Properties ขึ้นมา ใส่ชื่อเป็น Value ใส่ค่าเป็น 20n เลือก String เป็นประเภทของพารามิเตอร์ และทำเครื่องหมายเลือกที่เช็คบ็อกซ์ Visible จากนั้นคลิก OK
- ในเซ็คชัน Properties ของไดอะล็อกนี้ คลิกที่ฟิลด์ Comment และจากดรอปดาวน์ลิสต์ให้เลือกสตริง =Value และปิด Visible เป็น off คลิกปุ่ม OK เพื่อกลับมาที่โหมดการจัดวาง
- วางตัวเก็บประจุทั้งสองตัวในทำนองเดียวกับการวางตัวต้านทาน แล้วคลิกขวา หรือกดคีย์ ESC เพื่อออกจากโหมดการจัดวาง
- ตัวอุปกรณ์ที่วางเป็นชนิดสุดท้ายคือตัวค็อนเน็คเตอร์ (Connector) ซึ่งอยู่ในไลบรารี Miscellaneous Connectors.IntLib เหมือนเดิม
- ตัวค็อนเน็คเตอร์ที่เราต้องการจะต้องใช้ชนิดซ็อกเก็ต 2 ขา ดังนั้นใส่ตัวฟิลเตอร์เป็น *2*
- เลือก HEADER2 จากรายการตัวอุปกรณ์ แล้วคลิกปุ่ม Place กดคีย์ TAB เพื่อแก้ไขค่าแอททริบิว และตั้งค่า Designator เป็น Y1 และตรวจเช็คว่าโมเดลของ PCB Footprint เป็น HDR1X2 ส่วนค่าของพารามิเตอร์ไม่ต้องใส่เพราะว่าเราจะใส่แหล่งจ่ายไฟแทนตัวค็อนเน็คเตอร์นี้เมื่อทำการจำลองวงจรในภายหลัง คลิก OK เพื่อปิดไดอะล็อก
- ก่อนวางตัวค็อนเน็คเตอร์ ให้กดคีย์ X เพื่อพลิกกลับซ้ายขวาให้ถูกต้อง แล้ววางค็อนเน็คเตอร์ลงบน Schematic แล้วคลิกขวา หรือกดคีย์ ESC เพื่อออกจากโหมดการจัดวางอุปกรณ์
13. บันทึก Schematic ด้วยการเลือกเมนู File » Save (คีย์ลัด F,S)
ตอนนี้เราได้จัดวางตัวอุปกรณ์ทั้งหมดเสร็จแล้ว สังเกตได้ว่าตัวอุปกรณ์ที่แสดงในแผนภาพ 2 ถูกจัดวางห่างกันเพื่อให้มีพื้นที่ว่างสำหรับใช้ในการลากเส้นสัญญาณเชื่อมต่อขาของตัวอุปกรณ์ เนื่องจากเราไม่สามารถลากเส้นสัญญาณข้ามขาหนึ่งไปยังอีกขาหนึ่งได้ เพราะจะทำให้ขาทั้งสองเชื่อมต่อกับเส้นสัญญาณ
ถ้าท่านต้องการเคลื่อนย้ายตัวอุปกรณ์ ให้คลิกค้างไว้ตรงตัวอุปกรณ์ แล้วลากเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ